พลังงานสีเขียว (Green Energy) คือ พลังงานหรือแหล่งที่มาของพลังงาน ซึ่งมาจากวัตถุดิบ
ที่ไม่ใช่เชื้อเพลิงฟอสซิล ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานชีวมวล เป็นต้น จัดเป็น
พลังงานสะอาดที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยลดภาวะโลกร้อน รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพ
การใช้พลังงานโดยใช้พลังงานให้น้อยลงต่อหน่วยผลิตที่เพิ่มขึ้น และลดการสูญเสียในกระบวนการผลิต
ทั้งหมด ปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil) ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียม ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ
เป็นต้น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงก่อให้เกิดก๊าซพิษที่เป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมและเกิดภาวะโลกร้อน เช่น
ฝุ่นละออง คาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น
อ้างอิง : “พลังงานสีเขียว” พลังงานทางเลือกใหม่สำหรับอาคารเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ทำไมจึงควรหันมาใช้พลังงานสีเขียว
เป็นเป้าหมายในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และตรงกับมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมรวมถึงมาตรฐานสากลสำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรให้เกิดผล
อุตสาหกรรมในปัจจุบันหันมาใช้ไฮโดรเจนสีเขียวที่ผลิตโดยใช้พลังงานทดแทน เนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงสะอาดที่มีศักยภาพสำหรับการใช้งานต่าง ๆ รวมถึงการขนส่ง และกระบวนการทางอุตสาหกรรมถือว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการรักษาสภาพแวดล้อม เพื่อลดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก บรรเทาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมแนวทางปฏิบัติด้านพลังงานที่ยั่งยืนในอนาคต
เป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้หันมาใช้พลังงานทดแทน และใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีความความปลอดภัย และลดการผันผวนที่เกิดขึ้นกับแหล่งพลังงานธรรมชาติ
นอกจากนี้ยังมีการวางนโยบายพลังงานสีเขียวของไทยในการผลักดันและสนับสนุนการผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงสะอาดควบคู่กับการผลิตพลังงานจากโรงไฟฟ้าฐาน และการนำเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาช่วย เช่น ไฮโดรเจน การกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage หรือ CCS) ระบบสมาร์ทกริด (Smart Grid) โดยมีการกำหนดอัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว (Utility Green Tariff) ที่ กกพ.จะกำหนดต่อไป ผู้ผลิตที่เลือกใช้ไฟฟ้าสีเขียวจะได้ใบรับรองการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) ซึ่งแสดงการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็นรายชั่วโมงตามมาตรฐานสากล สามารถนำไปใช้ “ยืนยัน” ต่อประเทศปลายทางว่าผู้ผลิตได้ใช้ไฟฟ้าสีเขียวจริง ใบรับรอง REC จึงเปรียบเสมือน “ตัวช่วย” สำหรับผู้ผลิตในการปฏิบัติตามเงื่อนไข CBAM หรือข้อกีดกันทางการค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกระดับสากล
อ้างอิง : กระทรวงพลังงาน “นโยบายและทิศทางพลังงานสีเขียวของประเทศไทย”